ชานมไข่มุก เสี่ยง “ภาวะโรคซึมเศร้า” อาจส่งผลถึงปัญหาสุขภาพจิต

ชานมไข่มุก หนึ่งในเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง และมีจำหน่ายอยู่ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นในห้างสรรพสินค้า ข่าวกีฬาวันนี้ ไปจนถึงร้านค้าข้างทาง และโปรโมชันลดแลกแจกแถมเรื่อย ๆซึ่งจากสถิติพบว่า ประเทศไทยบริโภคเครื่องดื่มชนิดนี้มากถึง 6 แก้วต่อสัปดาห์ซึ่งมากที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศในอาเซียนอย่างอินโดนีเซีย มาเลเซีย ที่มีประชากรมากกว่าเราเสียอีก
นอกจากรสชาติที่โดนเด่น มีความหอม ความหวาน และความมัน คาสิโนออนไลน์เว็บตรง ความนุ่มหนึบของไข่มุกหรือสามารถเพิ่มท็อปปิ้งต่าง ๆ ที่มีมากมายให้เลือกสรร ทำให้ปฏิเสธไม่ได้ว่า เหตุใดเครื่องดื่มชนิดนี้จึงเป็นที่ชื่นชอบของใครหลายคน แต่หารู้ไม่ว่าภายใต้ความอร่อยที่พวกเราคลั่งไคล้อยู่นั้นกลับแฝงไปด้วยโทษมหันต์ตามมาได้ ได้แก่

  • ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
    ชานมไข่มุก หากพิจารณาตามส่วนประกอบจะเห็นว่าน้ำตาลและแป้งจากไข่มุก รวมถึงไขมันจากนมหรือครีมเทียม ล้วนแต่เป็นสารให้พลังงานทั้งสิ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดพลังงานส่วนเกินกว่าที่ร่างกายต้องการต่อวัน โดยชานมไข่มุก 1 แก้วนั้นอาจมีพลังงานสูงได้ตั้งแต่ 157 – 769 กิโลแคลอรี เทียบเท่าอาหาร 1 มื้อ เมื่อเรารับประทานจากอาหารปกติในแต่วันด้วยแล้ว ก็จะสะสมจนทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้นได้ นอกจากนี้ในชานมไข่มุก 1 แก้ว มีสารอาหารอื่นอย่างวิตามินและแร่ธาตุน้อยมากซึ่งอาจทำให้ได้รับสารอาหารต่อวันไม่เพียงพอ
  • ทำร้ายร่างกายอย่างรอบด้าน
    แม้ว่าน้ำตาลจะเป็นสารอาหารให้พลังงานแก่ร่างกาย แต่การได้รับน้ำตาลในปริมาณมากย่อมส่งผลเสียต่อร่างกายได้เช่นกัน หลากหลายยี่ห้อที่จำหน่ายในประเทศไทย 1 แก้วนั้นมีปริมาณน้ำตาลตั้งแต่ 16 กรัม (4 ช้อนชา) ถึง 74 กรัม
    (18.5 ช้อนชา) ซึ่งเกินกว่าปริมาณที่แนะนำต่อวันหรือ 6 ช้อนชาหลายเท่าตัว ซึ่งการได้รับน้ำตาลในปริมาณที่มากเกินไป น้ำตาลจะสะสมเป็นรูปไขมันที่ตับและอวัยวะอื่น ๆ ได้ และการรับประทานน้ำตาลโดยเฉพาะน้ำตาลฟรุกโตสที่สูงส่งผลให้เกิดภาวะดื้อต่อเลปติน (Leptin Resistance) ทำให้หิวตลอดเวลา และอยากรับประทานมากขึ้น นอกจากนี้ยังส่งผลให้การควบคุมอารมณ์ต่ำลง อารมณ์แปรปรวน และเกิดอาการของภาวะซึมเศร้าได้
  • ทำให้เกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ
    จากข้อที่กล่าวมา การเสียสมดุลของพลังงานเป็นเวลานานและการบริโภคน้ำตาลที่มากเกินไป เหนี่ยวนำให้เกิดกระบวนการอักเสบและสะสมมวลไขมันในร่างกาย จนเกิดโรคเรื้อรังตามมาในที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases, NCDs) ได้แก่ โรคอ้วน โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง เป็นต้น ซึ่งเป็นกลุ่มโรคสำคัญที่มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นในทุกๆ ปี

นักวิจัยที่อยู่เบื้องหลังการศึกษาวิจัยนี้แนะนำว่า เยาวชนอาจใช้ชานมเป็นกลไกในการรับมือและควบคุมอารมณ์ และเครื่องดื่มประเภทนี้อาจทำให้เสพติด และสร้างความเสียหายได้เช่นเดียวกับโซเชียลมีเดีย หรือยาเสพติด จึงมีความกังวลว่าสามารถนำไปสู่อารมณ์ในแง่ลบ และการแยกตัวออกจากสังคมในวัยรุ่นได้

ในการศึกษานี้ การบริโภคชานมสัมพันธ์กับความเหงาและความซึมเศร้า แม้ว่าการศึกษานี้ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อระบุสาเหตุ แต่ก็เน้นถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาถึงความนิยมที่เพิ่มขึ้นของเครื่องดื่มประเภทนี้

ในท้ายที่สุดทีมงานวิจัยยังได้แนะนำให้มีมาตรการเพื่อป้องกันปัญหา ทั้งทางร่างกายและจิตใจที่อาจเชื่อมโยงกับชานม ตั้งแต่โรคอ้วน และฟันผุ ไปจนถึงการเสพติด และภาวะซึมเศร้า

“การวิจัยสามารถช่วยเหลือผู้กำหนดนโยบายในการพัฒนากฎระเบียบต่างๆ เช่น การจำกัดการโฆษณา การให้การศึกษาด้านจิต การสร้างมาตรฐานด้านสุขอนามัยอาหาร สำหรับอุตสาหกรรมการบริโภคที่เน้นกลุ่มเยาวชน ขณะเดียวกันก็ช่วยปกป้องสุขภาพจิตของพวกเขาด้วย” นักวิจัยระบุ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Search

Popular Posts

Tags

Baseball (1) Cartier Love bracelet (1) Egg Tart (1) News (1) Sport (2) Sushi (1) Thai (1) Traditional Sport (1) กำไล Cartier (1) กำไลแบรนด์เนม (1) ขนมไต้หวัน (1) ข่าวกีฬา (1) ซูชิ (1) ซูชิ คือ (1) ซูชิปลาดิบ (1) ดื่มชานมบ่อย (1) ทาร์ตไข่ (1) ท่องเที่ยว (2) น้ำหอม (1) บูเดจิเก (1) บูเดจิเก สูตร (1) ประโยชน์ของ ผักกระเฉด (1) ผักและผลไม้ (3) ฟีฟ่า (FIFA) (1) ฟุตบอลอิตาลี (1) ภูกระดึง (1) ยูฟ่า (UEFA) (1) ยูโรป้า ลิเวอร์พูล (1) ยูโรป้าลีก 2023 (1) ยูโร ป้า ลีก รอบ 16 ทีม 2023 (1) วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (1) วิธีทำแกงส้มผักรวม (1) วิธีทําหม้อไฟเกาหลี (1) วีแกน พบ แมนยู (1) สายมู (1) สุขภาพ (6) สูตรทาร์ตไข่ (1) สโมสรในอิตาลี (1) หม้อไฟเกาหลี (1) อาหาร (8) อาหารญี่ปุ่น (1) อาหารประจำชาติ (1) เสพติดชานม (1) แกงส้มมะละกอ (1) โรคซึมเศร้า (1)