ลาสเวกัส กรังด์ปรีซ์ การแข่งรถ F1 กับอากาศที่หนาวที่สุดในรอบ 41 ปี

กลับมาอีกครั้งกับความยิ่งใหญ่ของการแข่งขันรถยนต์สูตรหนึ่งรายการ ลาสเวกัส กรังด์ปรีซ์ ในเมืองแห่งแสงสีอย่างลาสเวกัส ที่ห่างหายจากตารางแข่งขันไปนานกว่า 41 ปี ซึ่งครั้งล่าสุดที่จัดแข่งขันต้องย้อนไปเมื่อปี 1982 ในชื่อรายการว่า ซีซาร์ พาเลซ กรังด์ปรีซ์ และถือเป็นรายการที่ 3 ที่จัดขึ้นในสหรัฐอเมริกา ต่อจาก ยูไนเต็ด สเตทส์ กรังด์ปรีซ์ และ ไมอามี กรังด์ปรีซ์

ท่ามกลางการแข่งขันใน เมืองลาสเวกัส แน่นอนว่าแฟนกีฬาจะได้รับเห็นสนามที่ตัดผ่านโรงแรมและคาสิโนหลายแห่งในเมืองนี้เป็นระยะทางรวม 6.12 กิโลเมตรต่อรอบ ทางโค้ง 14 จุด และทางตรงยาว 3 จุด นอกจากนี้ความพิเศษของการแข่งขันจะจัดในช่วงกลางคืนหรือการแข่งขันไนท์เรซ เช่นเดียวกับ สิงคโปร์ กรังด์ปรีซ์

แม้ว่า ลาสเวกัส กรังด์ปรีซ์ จะเป็นอีกหนึ่งรายการที่เป็นไฮไลต์ประจำฤดูกาลสำหรับแฟนกีฬา อย่างไรก็ดี รายการนี้ก็ถือเป็นอีกหนึ่งความท้าทายด้านสภาพอากาศและถือเป็นงานหนักของทีมแข่ง F1 ทั้ง 10 ทีมและนักขับอีก 20 คน

ตลอดฤดูกาลที่ผ่านมา การออกแบบปฏิทินการแข่งขันจะจัดรายการแข่งขันเพื่อหลีกเลี่ยงสภาพอากาศในช่วงฤดูหนาว โดยจะเริ่มกันที่ ตะวันออกกลาง-ออสเตรเลีย-ฤดูร้อนในยุโรป ก่อนไปแข่งที่เอเชียตะวันออกในฤดูใบไม้ร่วง กลับมาที่ทวีปอเมริกา และปิดฤดูกาลที่ตะวันออกกลาง เสนอข่าวโดย Bigsoccerscores

ในขณะเดียวกัน ลาสเวกัสกรังด์ปรีซ์ อาจจะต้องทำการแข่งขันท่ามกลางอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 5 องศาเซลเซียส และอาจกลายเป็นการแข่งขันที่หนาวที่สุดในประวัติศาสตร์

เป็นที่ทราบกันดีว่ารถยนต์สูตรหนึ่งต้องอยู่กับความร้อนเป็นหลัก ซึ่งทีมวิศวกรได้คำนวณเรื่องการออกแบบเพื่อรองรับการระบายความร้อนไม่ให้มีอุณหภูมิสูงเกินไปจนทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่าง ๆ ลดลง แต่สภาพอากาศที่เย็นจัดก็ไม่ได้ส่งผลดีต่อการทำงานเช่นเดียวกัน

ปัญหาแรกที่พบจากสภาพอากาศที่เย็นสิ่งแรกคือ ยาง ที่มีผลให้ยางมีความแข็งกระด้างไม่เกาะถนน แน่นอนว่ายางรถแข่งถูกออกแบบมาให้เหมาะสำหรับการทำงานในอุณหภูมิสูงจึงจะสามารถยึดเกาะถนนได้ดี หรือพูดได้ว่า “ยิ่งร้อน ยิ่งหนึบ” ซึ่งหลาย ๆ ทีมอาจใช้ผ้าวอร์มยางที่ถูกกำหนดอุณหภูมิเพียง 70 องศาเซลเซียส คลุมที่ล้อทั้ง 4 เส้น อีกทั้งการขับตามหลังรถ Safety Car ช้าอาจส่งผลให้อุณหภูมิของยางนั้นลดลงได้

“เราได้รับข้อมูลจากบริษัท WBET69 ที่ผลิตพื้นถนนเพื่อทำความเข้าใจว่าเราจะคาดหวังกับระดับการยึดเกาะได้แค่ไหน มันเป็นเรื่องใหญ่ที่ไม่มีใครรู้ ทางตรงยาว ความเร็วสูง และสภาวะที่ยากต่อการจัดการ ในแง่ของการเตรียมตัว คุณต้องวางแผนให้ดีที่สุด แต่ขึ้นอยู่กับว่ายางมีปฏิกิริยาอย่างไร ไม่ใช่แค่อุณหภูมิของพื้นสนาม มันเป็นระดับการยึดเกาะโดยรวม ดังนั้นสำหรับเราก็แค่ทำการบ้านให้เพียงพอและเตรียมทางเลือกต่าง ๆ ให้พร้อม” อายาโอะ โคมัตสึ ผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมของทีม Haas F1 เผย

ปัญหาที่สองก็คือ เบรก เช่นเดียวกับยาง เนื่องจากเบรกจะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อมีอุณหภูมิที่ร้อน ซึ่งในการเบรกแต่ละครั้งอาจมีอุณหภูมิสูงถึง 1,000 องศาเซลเซียส ซึ่งจานเบรกจะถูกซ่อนอยู่ในท่อเบรกที่ช่วยป้องกันความร้อนที่แพร่กระจายไปสู่ยาง อย่างไรก็ตาม เมื่อต้องเผชิญกับสภาพอากาศเช่นนี้ความร้อนกลับมีคุณค่า

และประการสุดท้ายคือ ปีก การออกแบบชุดปีกของรถ F1 ในสภาพแรงกดที่มากขึ้นเท่ากับมีการทำงานของล้อที่มากขึ้น เพื่อเพิ่มแรงกด การเสียดสีของยางกับถนน และส่งผลถึงอุณหภูมิ การปรับปีกเพื่อสร้างแรงกดอาจเป็นเรื่องที่จำเป็น แต่ปัญหาก็คือสนามแข่งที่มีทางตรงยาวอาจทำให้ทีมแข่งต้องทำการบ้านเพื่อรับมือกับเรื่องนี้

มาติดตามกันว่าเหล่าทีมแข่งและนักขับจะมีวิธีการรับมืออย่างไรกับสภาพอากาศที่เย็นจัดเช่นนี้ สามารถติดตามการแข่งขัน ลาสเวกัสกรังด์ปรีซ์ หรือสนามที่ 22 ได้ในระหว่างวันที่ 16-18 พฤศจิกายน ตามเวลาสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะตรงกับเช้าวันอาทิตย์ตามเวลาของประเทศไทย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Search

Popular Posts

Tags

Baseball (1) Cartier Love bracelet (1) Egg Tart (1) News (1) Sport (2) Sushi (1) Thai (1) Traditional Sport (1) กำไล Cartier (1) กำไลแบรนด์เนม (1) ขนมไต้หวัน (1) ข่าวกีฬา (1) ซูชิ (1) ซูชิ คือ (1) ซูชิปลาดิบ (1) ดื่มชานมบ่อย (1) ทาร์ตไข่ (1) ท่องเที่ยว (2) น้ำหอม (1) บูเดจิเก (1) บูเดจิเก สูตร (1) ประโยชน์ของ ผักกระเฉด (1) ผักและผลไม้ (3) ฟีฟ่า (FIFA) (1) ฟุตบอลอิตาลี (1) ภูกระดึง (1) ยูฟ่า (UEFA) (1) ยูโรป้า ลิเวอร์พูล (1) ยูโรป้าลีก 2023 (1) ยูโร ป้า ลีก รอบ 16 ทีม 2023 (1) วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (1) วิธีทำแกงส้มผักรวม (1) วิธีทําหม้อไฟเกาหลี (1) วีแกน พบ แมนยู (1) สายมู (1) สุขภาพ (6) สูตรทาร์ตไข่ (1) สโมสรในอิตาลี (1) หม้อไฟเกาหลี (1) อาหาร (8) อาหารญี่ปุ่น (1) อาหารประจำชาติ (1) เสพติดชานม (1) แกงส้มมะละกอ (1) โรคซึมเศร้า (1)